อย่างไรก็ตามไม่เฉพาะประเด็นเศรษฐกิจเท่านั้นที่ผู้นำแต่ละชาติจะหยิบยกมาพูดคุย คาดกันว่ายังมีอีกสองประเด็นใหญ่นั่นคือ อาวุธนิวเคลียร์ และสงครามระหว่างยูเครนและรัสเซีย
บรรยากาศบริเวณอนุสรณ์สันติภาพของเมืองฮิโรชิมะ อนุสรณ์สถานที่เป็นสัญลักษณ์ของการทิ้งระเบิดปรมาณูในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองเมื่อช่วงกลางวันที่ผ่านมาเต็มไปด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มาดูแลความปลอดภัย
สถานที่อันเป็นแลนด์มาร์คของเมืองนี้จะถูกใช้เป็นฉากหลังของการถ่ายภาพร่วมกันระหว่างการประชุม G7 ด้วย
นักวิเคราะห์คาด G7 ถกความมั่นคงในยุโรปและอินโด-แปซิฟิก
ท่องเที่ยวฟื้นตัวแรงไตรมาสแรก คาดเท่าช่วงก่อนโควิดปลายปี 2567
ซึ่งภาพของผู้นำชาติสมาชิกได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น ยืนร่วมเฟรมกันโดยมีฉากหลังเป็นซากปรักหักพังของระเบิดปรมาณูเมื่อ 78 ปีก่อนถูกคาดหวังกันว่าจะเป็นภาพถ่ายอันทรงพลังและยังเป็นการส่งสารสำคัญไปยังนานาชาติต่อเป้าหมายในการลดอาวุธนิวเคลียร์
การประชุม G7 ประจำปีนี้ ประเทศญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพจัดงาน สาเหตุที่เลือกเมืองฮิโรชิมะไม่เพียงเป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพและการลดอาวุธนิวเคลียร์เท่านั้น หากเมืองนี้ยังเป็นเมืองที่ฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเติบโตขึ้นมาอีกด้วย การประชุมจะเกิดขึ้นตลอดสามวัน ตั้งแต่วันที่ 19-21 พฤษภาคม
ก่อนหน้านี้นายกฯ คิชิดะออกมาให้สัมภาษณ์ระบุว่า การเริ่มต้นประชุมด้วยการพาผู้นำของชาติสมาชิกชมความเสียหายที่เกิดจากระเบิดปรมาณูบริเวณอนุสรณ์สันติภาพและพิพิธภัณฑ์ฮิโรชิมะถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีก่อนที่ทุกฝ่ายจะหารือในประเด็น ความพยายามลดอาวุธนิวเคลียร์
ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐฯ เดินทางถึงญี่ปุ่นแล้วตั้งแต่วันพุธที่ 17 พฤษภาคมที่ผ่านมา และมีรายงานจากเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ที่เตรียมการประชุม ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวรอยส์เตอร์ว่า ในประเด็นที่สหรัฐฯ สนใจนั้น การประชุมนี้จะหารือด้านความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาดของบรรดาประเทศชั้นนำ
อีกผู้นำที่เดินทางถึงญี่ปุ่นเมื่อช่วงกลางวันที่ผ่านมาคือ ริชชี ซูนัค นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร พร้อมด้วย อักษตา มูรติ ภรรยา
รายงานจากสหราชอาณาจักร ซูนัคเตรียมที่จะลงนามใน "ข้อตกลงฮิโรชิมะ" ร่วมกับนายกฯ คิชิดะ เพื่อยกระดับความร่วมมือด้านกลาโหมระหว่างญี่ปุ่นและสหราชอาณาจักร และทั้งสองชาติยังมีแผนที่จะเปิดตัวความร่วมมือด้านเซมิคอนดักเตอร์ เพื่อเสริมความแข็งแกร่งทางด้านเศรษฐกิจที่พึ่งพาสินค้าเทคโนโลยีอีกด้วยคำพูดจาก สล็อต777
จะเห็นว่าเนื้อหาในการประชุม G7 ค่อนข้างหลากหลายและครอบคลุมประเด็นใหญ่ของโลก อันที่จริงจุดเริ่มต้นของ G7 เป็นเพียงแค่การประชุมทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศที่มี GDP และมีอุตสาหกรรมชั้นนำ ก่อนที่ในเวลาต่อมาจะขยายไปสู่การพูดคุยเรื่องอื่นๆ เช่น ความมั่นคง การศึกษา ความยากจน ไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
ก่อนปี 2014 รัสเซียเป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกด้วยในชื่อการประชุม G8 แต่หลังเหตุการณ์บุกยึดไครเมียของยูเครน รัสเซียก็ถูกถอดออกไป และจาก G8 จึงเหลือเพียงแค่ G7 แต่ละปีทาง G7 จะเชิญองค์กรใหญ่ๆ รวมถึงชาติอื่นให้เข้าร่วมฟังการประชุมด้วย เช่น ในปีนี้มีสหภาพยุโรป ออสเตรเลีย บราซิล อินเดีย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ และเวียดนามได้รับเกียรติให้เข้าร่วม
ประเด็นสำคัญรวมถึงบทบาทของชาติสมาชิกที่เป็นบรรดาชาติผู้นำโลกส่งผลให้หลายฝ่ายติดตามการประชุมนี้ว่าจะมีนโยบายใดๆ ออกมาบ้าง
ประเด็นสำคัญที่หลายฝ่ายให้ความสนใจคือ สงครามระหว่างยูเครนและรัสเซีย เริ่มต้นด้วยอาวุธที่บรรดาชาติตะวันตกให้การสนับสนุนยูเครน ในจำนวนสมาชิก G7 ทั้งหมด ปัจจุบันมีเพียงญี่ปุ่นเพียงชาติเดียวเท่านั้นที่ไม่ได้ส่งอาวุธทางการทหารช่วยเหลือยูเครน
อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นเคยกล่าวในวันครบรอบหนึ่งปีของสงครามว่า จะช่วยสนับสนุนด้านการเงิน จึงคาดกันว่าประเด็นเรื่องอาวุธจะถูกหยิบยกขึ้นมาพูดคุยเช่นกัน โดยเฉพาะในสัปดาห์นี้ที่มีสัญญาณการสู้รบดุเดือดขึ้นเมื่อยูเครนสามารถสกัดขีปนาวุธคินซาลได้สำเร็จ
อีกประเด็นใหญ่คือมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย การประชุม G7 เกิดขึ้นเพียงหนึ่งสัปดาห์หลังคณะกรรมาธิการยุโรปเพิ่งจะออกมามาตรการคว่ำบาตร รัสเซียรอบใหม่เป็นรอบที่ 11 แล้ว
และตามธรรมเนียมประธานของคณะกรรมาธิการยุโรปจะได้รับเชิญให้เข้าร่วมประชุมด้วยเช่นกัน จึงคาดกันว่ามาตรการคว่ำบาตรรัสเซียจะถูกหยิบมาพูดคุย รวมถึงแนวทางในการแก้ไขวิกฤตพลังงานหลังรัสเซียถูกคว่ำบาตร ซึ่งข้อนี้สอดคล้องกับประเด็นที่ชาติตะวันตกต้องการเปลี่ยนผ่านจากการใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลไปสู่พลังงานสะอาดพอดี
นอกจากนั้นผู้เชี่ยวชาญยังคาดว่า ปัญหาทะเลจีนใต้จะถูกนำมาหารือด้วยเช่นกัน สืบเนื่องจากสงครามในยูเครนส่งผลให้ญี่ปุ่นมีความกังวลว่า จีนอาจพยายามยึดเกาะไต้หวัน ซึ่งหากเกิดขึ้นจริงความพยายามดังกล่าวจะทำลายความมั่นคงของภูมิภาค
ส่วนในประเด็นอาวุธนิวเคลียร์นั้น กลุ่มประเทศ G7 ให้คำมั่นว่าทุกชาติจะสนับสนุนสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ สนธิสัญญานี้มีความสำคัญตรงที่จะเป็นหลักประกันว่านานาชาตินะไม่ขวนขวายหรือเพิ่มอาวุธนิวเคลียร์ของตน เพื่อปูทางไปสู่อนาคตในการลดอาวุธนิวเคลียร์
ในมุมของ นารุชิเกะ มิซิชิตะ ศาสตราจารย์ด้านการศึกษานโยบายประจำสถาบันบัณฑิตศึกษาแห่งชาติย้ำว่า ความพยายามนี้เป็นสิ่งสำคัญมากในสถานการณ์หมิ่นเหม่ที่รัสเซียอาจจวนตัวในการสู้รบและยกระดับการโจมตีเป็นอาวุธนิวเคลียร์
ในขณะที่ฝั่งพันธมิตรชาติตะวันตกจัดการประชุม G7 ขั้วตรงข้ามอย่างจีนก็กำลังประชุมกับกลุ่มประเทศในเอเชียกลางเช่นกัน
การประชุมเกิดขึ้นในเมืองซีอัน มณฑลส่านซี ภายใต้ชื่อการประชุมสุดยอดจีน-เอเชียกลาง ที่จีนวาดหวังว่าจะยกระดับความร่วมมือและอิทธิพลในภูมิภาคนี้หลังรัสเซียลดบทบาทลงเพราะสงครามและการคว่ำบาตร
ประธานาธิบดีคาสซิม โจมาร์ต โตกาเยฟ แห่งคาซัคสถานจับมือกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ผู้นำจีนเมื่อวันพุธที่ผ่านมาก่อนการหารือจะเริ่มขึ้น
คาซัคสถานถือเป็นชาติแรกในกลุ่มประเทศที่ลงท้ายด้วยสถานในเอเชียกลางที่ได้เข้าร่วมการประชุมกับจีน นอกจากคาซัคสถานแล้วยังมี คีร์กิซสถาน ทาจิกิสถาน เติร์กเมนิสถาน และอุเบกิซสถาน ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นชาติที่ตั้งอยู่บนเส้นทางสายไหม
ประธานาธิบดีโตกาเยฟกำหนดมูลค่าการค้าร่วมกับจีนภายในปี 2030 เพิ่มเป็น 40,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 1.3 ล้านล้านบาท จากเดิมที่มูลค่าปัจจุบันอยู่ที่ 31,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 1 ล้านล้านบาท โดยเน้นไปที่การเพิ่มสินค้าทางการเกษตร
เมื่อช่วงกลางวันที่ผ่านมา ประธานาธิบดีซาเดียร์ จาปารอฟ เข้าประชุมกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิงแล้ว พร้อมลงนามในข้อตกลงทวิภาคีที่จะพัฒนาเศรษกิจร่วมกับจีน
ส่วนภาพนี้เป็นบรรยากาศการพูดคุยระหว่างจี สิ้นผิง ผู้นำจีนและ ประธานาธิบดีเอมามอห์ลี รามอน ผู้นำทาจิกิสถาน
อดีตรัฐของสหภาพโซเวียตเหล่านี้ปัจจุบันกลายมาเป็นประเทศเกิดใหม่ในภูมิภาคเอเชียกลาง พื้นที่ที่อุดมไปด้วยพลังงานอย่างน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ โดยแหล่งพลังงานส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศคาซัคสถานและเติร์กเมนิสถาน นอกจากนั้นที่นี่ยังอุดมไปด้วยแหล่งแร่ เช่น อุเบกิซสถานและคีร์กิซสถานเป็นที่ตั้งของเหมืองแร่จำนวนมาก เช่น ทองคำ
การประชุมครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่จีนจัดการประชุมร่วมกับ 5 ชาติกลุ่มสถาน นับตั้งแต่จีนสถาปานาความสัมพันธ์ทางการทูตกับกลุ่มประเทศนี้ในปี 1992 วาระหลักหนีไม่พ้นเรื่องเศรษฐกิจ ผู้เชี่ยวชาญมองว่า จีนใช้สถานการณ์ที่รัสเซียลดบทบาทในภูมิภาคนี้ลง เนื่องจากพัวพันกับสงครามยูเครนและปัญหาเศรษกิจในประเทศจากการคว่ำบาตรของนานาชาติ
และอันที่จริงยุทธศาสตร์นี้เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2022 แล้ว เพราะรายงานจากกรมศุลกากรของจีน มูลค่าการค้าระหว่างจีนกับกลุ่มประเทศสถานในปีที่ผ่านมาสูงถึง 70,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ถือเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นจากปี 2021 ถึงร้อยละ 40
นอกจากความร่วมมือทางการค้าและความมั่นคงแล้ว จีนและคาซัคสถานยังจะลงนามฟรีวีซ่านาน 30 วันเพื่อเปิดให้คนจากสองชาติเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวได้ง่ายขึ้นอีกด้วย